
หลายคนคงทราบดีว่า ในช่วงฤดูร้อน ในประเทศไทยนั้นมีอุณหภูมิทะลุสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส จนติด 1 ใน 15 ของเมืองที่ร้อนที่สุดในโลกเลยทีเดียวจึงให้เสี่ยงต่อโรคลมแดด หรือ โรคฮีทสโตรก โรคที่มีอันตรายถึงชีวิต ซึ่งเคยมีผู้เสียชีวิตด้วยโรคฮีทสโตรกถึง 18 ราย และคาดการณ์ว่าจะมีผู้เสียชีวิตสูงขึ้นเรื่อยๆและวันนี้เราจะไปทำความรู้จักกับ โรคฮีทสโตรก อาการและวิธีรักษา เพื่อจะได้รู้ทันโรค ติดตามได้ที่บทความด้านล่างเลย
อ่านบทความเพิ่มเติม: ชุดสูบกัญชา ไปป์กัญชาคืออะไร?ค้นพบคำตอบที่นี่ได้!
ฮีทสโตรก (Heatstroke) คืออะไร
โรคลมแดด หรือ ฮีทสโตรก (Heatstroke) เป็นภาวะที่เกิดจากร่างกายมีความร้อนสูงเกินไปซึ่งมักเกิดจากการทำงาน ใช้แรงงาน หรือออกกำลังกายอย่างหนักในภาวะแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูง มักเกิดขึ้นเมื่ออุณหภูมิร่างกายสูงถึง 40 องศาเซลเซียส หรือมากกว่า และมักจะเกิดในช่วงฤดูร้อนหรือบริเวณที่มีความชื้นในอากาศสูง อาจทำให้เกิดอันตรายต่ออวัยวะสำคัญ เช่นสมอง หัวใจ ปอด ไต และกล้ามเนื้อได้ หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องอย่างทันท่วงที จะมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายได้ บางรายถึงขั้นพิการและเสียชีวิตได้
สาเหตุฮีทสโตรก (Heatstroke)

โรคลมแดดแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ตามสาเหตุที่ทำให้เกิด ได้แก่
- Classic Heatstroke or Non – Exertional Heatstroke เกิดจากการที่ต้องอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่อุณหภูมิสูง ทำให้อุณหภูมิร่างกายสูงตาม มักพบในผู้ที่อยู่ในบริเวณที่อากาศร้อนและชื้นเป็นเวลานาน
- Exertional Heatstroke ในกรณีนี้อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นจากการทำงานหรือออกกำลังกายอย่างหนักในบริเวณที่มีอุณหภูมิสูง และโอกาสเกิดจะเพิ่มขึ้นในผู้ที่ไม่คุ้นเคยกับอากาศร้อน การสวมใส่เสื้อผ้าที่หนาและมากเกินไปจนเหงื่อระเหยและระบายความร้อนได้ยาก ภาวะขาดสารน้ำ การดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งทำให้กลไกการควบคุมอุณหภูมิร่างกายผิดปกติไปก็เป็นสาเหตุร่วมที่ทำให้เกิด Heatstroke ได้
ปัจจัยเสี่ยงฮีทสโตรก (Heatstroke)
ปัจจัยเสี่ยงหลายอย่าง ทำให้ผู้ป่วยบางรายมีโอกาสเกิดโรคลมแดดได้ง่ายขึ้น ได้แก่
- – อายุที่น้อยหรือมากเกินไป
- – มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคปอด ภาวะอ้วน หรือไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย
- การใช้ยาบางกลุ่มที่ทำให้สูญเสียสารน้ำหรือร่างกายไม่สามารถตอบสนองต่ออุณหภูมิกายที่สูงขึ้นได้อย่างเต็มที่ เช่น ยากลุ่มกระตุ้นการหดตัวของหลอดเลือด (Vasoconstrictors) ยาลดความดันหรือรักษาโรคหัวใจ (Beta – Blockers) ยาขับปัสสาวะ (Diuretics) และยาทางจิตเวชบางกลุ่ม (Antidepressants, Antipsychotics และ Psychostimulants) รวมทั้งสารเสพติดกลุ่ม Amphetamines และ Cocaine
- – การที่ร่างกายต้องเผชิญกับอุณหภูมิที่สูงขึ้นอย่างเฉียบพลัน เช่น ในกรณีที่เดินทางท่องเที่ยวไปประเทศที่อากาศร้อนกว่า หรือในช่วงที่มี Heat Wave จนร่างการปรับตัวไม่ทันก็ทำให้เกิดฮีทสโตรกได้ง่ายขึ้น
อ่านบทความเพิ่มเติม: 10 ประโยชน์กัญชา ประโยชน์กัญชามีอะไรบ้าง
ฮีทสโตรกอาการ (Heatstroke)

สัญญาณสำคัญของโรคฮีทสโตรก
สัญญาณสำคัญของโรคฮีทสโตรก ก็คือ ไม่มีเหงื่อออก ตัวร้อนจัดขึ้นเรื่อยๆ รู้สึกกระหายน้ำมาก วิงเวียน ปวดศีรษะ มึนงง คลื่นไส้ หายใจเร็ว อาเจียน ซึ่งต่างจากการเพลียจากแดดทั่วๆ ไป หากเกิดอาการดังกล่าวจะต้องหยุดพักทันที
- มีไข้สูงมากกว่า 40.5 องศาเซลเซียส
- เมื่อยล้า อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน
- อาการทางผิวหนัง : ไม่มีเหงื่อออก ผิวหนังเปลี่ยนเป็นสีแดงมากขึ้น
- อาการทางระบบประสาท : ปวดศีรษะ สับสน ตอบสนองช้า ชัก ไม่รู้สึกตัว หมดสติ
- อาการทางระบบไหลเวียนโลหิตและระบบการหายใจ : ความดันโลหิตต่ำ หายใจเร็ว มีการคั่งของของเหลวในปอด หัวใจเต้นผิดจังหวะ ปัสสาวะออกน้อยหรือสีเข้ม เพราะมีการสลายกล้ามเนื้อ นำไปสู่ภาวะไตวายเฉียบพลัน
ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจทำให้เสียชีวิตได้
อ่านบทความเพิ่มเติม:กัญชา สายพันธุ์ นโยบายกัญชา การเดินทางที่เริ่มจากอดีต
ฮีทสโตรก วิธีรักษา(Heatstroke)

การปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อเจอผู้ป่วยสงสัยโรคฮีทสโตรก
- นำผู้มีอาการเข้าร่ม นอนราบ ยกเท้าสูงทั้งสองข้าง ถอดเสื้อผ้าออก
- ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นหรือน้ำแข็งประคบตามซอกตัว คอ รักแร้ ข้อพับ ขาหนีบ ศีรษะ ร่วมกับการใช้พัดลมเป่า พ่นละอองน้ำ ระบายความร้อน
- เทน้ำเย็นราดลงบนตัวเพื่อลดอุณหภูมิร่างกายให้ลดต่ำลงโดยเร็วที่สุด แล้วรีบนำส่งโรงพยาบาล
อ่านบทความเพิ่มเติม: รู้จัก “น้ำมันมะกอก” เลือกใช้ได้อย่างไรบ้าง มีกี่ประเภท ?
หากเจอผู้ป่วยที่มีอาการฮีทสโตรกต้องแบ่งได้เป็น 2 กรณี คือ ผู้ป่วยที่หมดสติและไม่หายใจให้ โทร 1669 หน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉิน เพื่อเข้ารักษาผู้ป่วยอย่างรวดเร็ว และทำการ CPR ผู้ป่วย ณ บริเวณนั้น แต่ถ้าผู้ป่วยยังสามารถหายใจได้ให้นำผู้ป่วยเข้าที่ร่มและคลายเสื้อผ้าของผู้ป่วยออก ร่วมกับการเช็ดตัวด้วยผ้าเย็น หรือใช้การฉีดสเปรย์เพื่อระบายความร้อน ร่วมกับการเปิดพัดลมได้
ป้องกันฮีทสโตรก(Heatstroke)
โรคฮีทสโตรกหรือ โรคลมแดดสามารถป้องกันได้ ดังนี้
- – สวมใส่เสื้อผ้าโปร่ง ระบายลมได้ง่าย หากรู้ว่าต้องไปอยู่ในที่อากาศร้อนหรืออากาศถ่ายเทไม่สะดวก
- – ป้องกันตัวเองจากแสงแดดด้วยเครื่องแต่งกาย เช่น แว่นกันแดดหรือหมวก และการใช้ครีมกันแดดที่มี SPF มากกว่า 15 ขึ้นไป
- – ดื่มน้ำให้เพียงพอในแต่ละวัน ประมาณ 2-3 ลิตรต่อวัน
- – ระวังเรื่องยาและปรึกษาแพทย์ว่ายาที่ใช้อยู่มีผลต่อการปรับอุณหภูมิของร่างกายหรือไม่
- – พยายามหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายอย่างหนักในที่อาการร้อนและถ่ายเทไม่สะดวก ในกรณีที่จำเป็น ให้ใช้เวลาในบริเวณดังกล่าวให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้
อ่านบทความเพิ่มเติม: ‘เยลลี่กัญชา’ นิยมหมู่วัยรุ่น เด็กกินเสี่ยงตาย
คำถามที่พบบ่อยฮีทสโตรก| FAQ
Q: สัญญาณสำคัญของโรคฮีทสโตรก คืออาการอย่างไร
A: ไม่มีเหงื่อออก ตัวร้อนจัดขึ้นเรื่อยๆ รู้สึกกระหายน้ำมาก วิงเวียน ปวดศีรษะ มึนงง คลื่นไส้ หายใจเร็ว อาเจียน ซึ่งต่างจากการเพลียจากแดดทั่วๆ ไป หากเกิดอาการดังกล่าวจะต้องหยุดพักทันที
I think that what yyou polsted made a lot of sense. But, think onn this, what
iif youu addd a littloe information? I mean, I don’t wish to tell
yyou how too rrun yoiur website, howevver suppose
you added a tutle too possibl grab folk’s
attention? I mean ฮีทสโตรก iis a littke boring.
You could glance at Yahoo’s homee page and nopte hhow hey ccreate news titlds to grab viewers to open thhe links.
You might aadd a related vudeo orr a related pic or two to get readeers
interested about what you’ve got too say. In my opinion, it could brin youhr blog a little livelier.