
นายณัฐกร อุเทนสุต ที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบควบคุม ภาษีน้ำตาล สรรพสามิต เปิดเผยว่า ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.นี้กรมสรรพสามิต จะเริ่มปรับขึ้นภาษีความหวานตามปริมาณน้ำตาล เข้าสู่ระยะที่สาม หลังจากที่รัฐบาลได้ชะลอการปรับขึ้นอัตราภาษีดังกล่าวเข้าสู่เฟสที่สามเป็นระยะเวลา 6 เดือนได้สิ้นสุดลง ดังนั้นอัตราภาษีน้ำตาลสรรพสามิตที่เก็บจากปริมาณน้ำตาลในเครื่องดื่มในเฟสที่สาม ซึ่งจะสูงขึ้นกว่าเฟสที่หนึ่งและสอง จะเริ่มใช้ตั้งแต่ 1 เม.ย.นี้เป็นต้นไป เมื่ออัตราภาษีน้ำตาลได้ปรับเพิ่มขึ้นแล้ว หากผู้ประกอบการรายใด ไม่ปรับเปลี่ยนสูตรการผลิต โดยลดส่วนผสมจากน้ำตาลลง จะทำให้ต้องเสียภาษีน้ำตาลเพิ่มขึ้น ทั้งนี้การดำเนินการจัดเก็บภาษีน้ำตาลดังกล่าว มีเป้าหมายเพื่อต้องการดูแลสุขภาพของไทยให้ห่างไกลจากโรคอ้วน เบาหวาน และความดัน
มาตราการภาษีน้ำตาล

ระยะที่ 3 ที่เริ่มเก็บตั้งแต่ 1 เม.ย.66-31 มี.ค.68 มีอัตราดังนี้
- ปริมาณน้ำตาล 6-8 กรัม คิดอัตราภาษี 0.3 บาทต่อลิตร
- ปริมาณน้ำตาล 8-10 กรัม คิดอัตราภาษี 1 บาทต่อลิตร
- ปริมาณน้ำตาล 10-14 กรัม คิดอัตราภาษี 3 บาทต่อลิตร
- ปริมาณน้ำตาล 14-18 กรัม คิดอัตราภาษี 5 บาทต่อลิตร
- ปริมาณน้ำตาล ตั้งแต่ 18 กรัม คิดอัตราภาษี 5 บาทต่อลิตร
อ่านบทความเพิ่มเติม:บิกินี่รัน จันทบุรี 2023 รวมอีเว้นท์งานแข่งวิ่ง Bikini Run 2023
สินค้าที่จัดเก็บภาษีน้ำตาลสรรพสามิต จากปริมาณน้ำตาล 2 กลุ่ม
- เครื่องดื่ม
- ผลิตภัณฑ์ที่ใช้เครื่องดื่มที่มีลักษณะเป็นผง เกร็ด หรือเครื่องดื่มเข้มข้นที่มีส่วนผสมของน้ำตาลและสามารถละลายน้ำได้
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีน้ำตาลคือ
- ผู้ประกอบอุตสาหกรรม
- ผู้นำเข้า
อัตราภาษีสรรพสามิตจากค่าความหวานมี 2 ประเภท
1.อัตราภาษีน้ำตาลตามมูลค่า จะคำนวณจากราคาขายปลีกแนะนำ
2.อัตราภาษีน้ำตาลตามปริมาณจะคำนวณตามปริมาณน้ำตาลที่อยู่ในเครื่องดื่มนั้น ๆ
อ่านบทความเพิ่มเติม:สิ่งที่หลักฐานกล่าวเกี่ยวกับกัญชาในการรักษามะเร็ง
สูตรคำนวณภาษีความหวาน

สูตรคำนวณภาษีความหวาน สรรพสามิต กฎหมายกำหนดให้เสียภาษีตามมูลค่า หรือตามปริมาณของสินค้า หรือทั้งตามมูลค่าและตามปริมาณของสินค้า (1) ภาษีตามมูลค่า (2) ภาษีตามปริมาณ
(1) ภาษีน้ำตาลตามมูลค่า = อัตราภาษี x ฐานภาษี (ราคาขายปลีกแนะนำ)
(2) ภาษีน้ำตาลตามปริมาณ = อัตราภาษี x ขนาดบรรจุ
อ่านบทความเพิ่มเติม:บัตรสวัสดิการแห่งรัฐล่าสุด 1000 บาทได้กันหรือยัง?!!
วิจัย ภาษีความหวาน จากต่างประเทศ
บทเรียนจากต่างประเทศในด้านภาษีน้ำตาล ต่างประเทศ ได้ให้ข้อมูลที่สนับสนุนการขึ้นภาษีเครื่องดื่มน้ำตาล โดยมีงานศึกษาวิจัย เช่น การขึ้นภาษีน้ำตาลของประเทศเม็กซิโกในปี 2556-57 ที่บ่งชี้ว่า การเก็บภาษีช่วยให้ผู้บริโภคมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดการบริโภคเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลจริง โดยหลังจากการขึ้นภาษีน้ำตาล พบว่าปริมาณการผลิตเครื่องดื่มน้ำอัดลมมีจำนวนที่ค่อนข้างจะคงที่ ในขณะที่การผลิตน้ำดื่มแบบขวดกลับมีปริมาณเพิ่มขึ้นกว่าเดิมอย่างก้าวกระโดด ซึ่งสะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจากการบริโภคน้ำอัดลมมาเป็นน้ำดื่มแบบขวดแทนในขณะเดียวกัน กรณีศึกษาของประเทศฝรั่งเศส ก็พบว่าภาระของภาษีน้ำตาลก็ไม่ได้ตกกับผู้ค้าปลีก ที่มักจะมีอำนาจต่อรองต่ำกว่าผู้ผลิตและผู้บริโภค กลับเป็นผู้บริโภคที่จะได้รับผลของภาษีโดยตรง โดยพบว่าร้านค้าปลีกได้เพิ่มราคาสูงกว่าอัตราภาษีที่เพิ่มขึ้นเสียอีก ซึ่งเมื่อผู้บริโภคได้รับภาระทางภาษีที่เพิ่มขึ้น ก็จะมีส่วนทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้อย่างแท้จริง
ทั้งนี้ ผู้เขียนมีความเห็นว่าการขึ้นภาษีเครื่องดื่มน้ำตาล ควรที่จะต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบในหลายประเด็น ดังนี้
- การขึ้นภาษีน้ำตาลเฉพาะเครื่องดื่มเพียงอย่างเดียว อาจจะไม่ตอบโจทย์การลดการบริโภคน้ำตาลที่ตรงเป้าหมายเสียทีเดียว เนื่องจาก ผู้บริโภคสามารถที่จะบริโภคน้ำตาลจากสินค้าชนิดอื่นนอกเหนือจากเครื่องดื่มได้ เช่น การบริโภคอาหาร ดังนั้น หากต้องการที่จะให้ตรงกับเป้าหมายอย่างแท้จริง อาจจะต้องพิจารณาเก็บเป็นภาษีน้ำตาลจากการผลิตหรือขายน้ำตาลแทน อาจจะตรงกับโจทย์มากกว่า
- บทเรียนจากต่างประเทศบ่งชี้ว่า ผู้ผลิตจะมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีเช่นเดียวกัน ซึ่งหากเป็นการปรับเปลี่ยนไปผลิตเครื่องดื่มที่ปราศจากน้ำตาล หรือลดปริมาณน้ำตาลลงเพียงอย่างเดียว ก็น่าจะเป็นไปตามเป้าหมายของนโยบายภาครัฐ แต่ก็มีความเป็นไปได้เช่นเดียวกัน ที่ผู้ผลิตจะใช้สารแทนความหวานที่อาจจะเป็นภัยต่อผู้บริโภคแทน ดังนั้น การขึ้นภาษีน้ำตาลเครื่องดื่มน้ำตาลจะต้องพิจารณาล่วงหน้าไปถึงการควบคุมสารแทนความหวานชนิดอื่นๆที่อาจจะเป็นอันตรายด้วยเช่นกัน
อ่านบทความเพิ่มเติม:ส่อง IG คนดัง 2023 ไอจีที่มีคนติดตามมากที่สุดในไทย
ภาษีความหวาน ผลกระทบ

ด้วยสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบัน หากมีการปรับขึ้นภาษีน้ำตาลตามกำหนดเวลาเดิม อาจส่งผลกระทบโดยตรงต่อประชาชนและการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม เนื่องจากผู้ ประกอบการอาจดำเนินการปรับราคาเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้น กรมสรรพสามิต จึงเสนอขยายเวลาการขึ้นอัตราภาษีความหวานตามปริมาณน้ำตาลระยะที่ 3 ออกไปอีกเป็นเวลา 6 เดือน
นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพสามิต กล่าวว่า การดำเนินการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตความหวานตามปริมาณน้ำตาลตามที่กำหนดไว้นั้น นอกจากจะเป็นแนวทางด้านสาธารณสุขในการป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อตามที่องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำ ยังถือได้ว่าเป็นยุทธศาสตร์ของกรมสรรพสามิตที่มุ่งหวังจะเป็นกลไกสำคัญในการวางรากฐานสังคมและสนับสนุนให้ประชาชนในประเทศ มีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องสุขภาพ เพื่อเป็นการสร้างความยั่งยืนให้กับประชาชนและประเทศชาติต่อไป
อ่านบทความเพิ่มเติม: รู้จัก “น้ำมันมะกอก” เลือกใช้ได้อย่างไรบ้าง มีกี่ประเภท ?
คำถามที่พบบ่อยภาษีน้ำตาล| FAQ
Q:ภาษีความหวาน มีผลกระทบอย่างไรบ้าง
A: อาจส่งผลกระทบโดยตรงต่อประชาชนและการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม เนื่องจากผู้ ประกอบการอาจดำเนินการปรับราคาเพิ่มสูงขึ้น