ปีใหม่ไทย วันสงกรานต์ 2566 มีความสำคัญอย่างไรกับชาวไทย

ปีใหม่ไทย วันสงกรานต์ 2566  มีความสำคัญอย่างไรกับชาวไทย

image

วันสงกรานต์ 2566 ตรงกับวันที่ 13 เมษายนของทุกปี ซึ่งเป็นประเพณีที่สืบต่อมาช้านานในสำหรับในประเทศไทย ยังถือเป็น “วันปีใหม่ไทย” ซึ่งเป็นประเพณีและมรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่าของชาติ รวมทั้งยังมีการจัดกิจกรรมวันสงกรานต์ทั่วประเทศ ทางการจึงประกาศให้เป็นวันหยุดราชการทั้งหมด 5วัน  บทความนี้จะพาไปทำความรู้จัก สงกรานต์ ประวัติ,วันสงกรานต์ ทํา อะไรบ้าง,ตำนานประเพณีวันสงกรานต์ สรงน้ำพระ วันสงกรานต์ ต้องมีขั้นตอนใดบ้าง,เพื่อตระหนักถึงความสำคัญของวันสงกรานต์ให้มากขึ้น

อ่านบทความเพิ่มเติม:บิกินี่รัน จันทบุรี 2023 รวมอีเว้นท์งานแข่งวิ่ง Bikini Run 2023 

ปฏิทินวันหยุดสงกรานต์ 2566

  • วันพฤหัสบดี 13 เมษายน – วันสงกรานต์ (วันผู้สูงอายุแห่งชาติ)
  • วันศุกร์ 14 เมษายน – วันสงกรานต์ (วันครอบครัว)
  • วันเสาร์ 15 เมษายน – วันสงกรานต์
  • วันอาทิตย์ 16 เมษายน 
  • วันจันทร์ 17 เมษายน – วันหยุดชดเชยวันสงกรานต์

สงกรานต์ ประวัติ

image 1

ประเพณีสงกรานต์ สันนิษฐานกันว่าได้รับวัฒนธรรมมาจากเทศกาลโฮลีในอินเดีย แต่เทศกาลโฮลี (Holi) จะใช้การสาดสีแทน ถือว่าเป็นการปัดเป่าโรคร้ายไปจากตัว เพราะสีที่นำมาสาดใส่กันนั้น เป็นสีที่ได้มาจากพืชพรรณและสมุนไพรตามธรรมชาติ โดยจะจัดให้มีขึ้นในทุกวันแรม 1 ค่ำ เดือน 4 ซึ่งก็คือเดือนมีนาคม แต่ก็มีนักเขียนด้านประวัติศาสตร์ บอกว่าคนละความหมายกันกับความเชื่อของสงกรานต์ก็ตาม

สำหรับคำว่า สงกรานต์ เป็นคำในภาษาสันสกฤตหมายถึง การเคลื่อนย้าย โดยอุปมาถึงการเคลื่อนย้ายการประทับในจักรราศี หรือการเคลื่อนเข้าสู่ปีใหม่ตามความเชื่อของไทยและบางประเทศในแถบ ASEAN ซึ่งประเพณีสงกรานต์มีสืบทอดกันมาตั้งแต่โบราณคู่กับตรุษ จึงมักเรียกรวมกันว่า ประเพณีตรุษสงกรานต์ หมายถึง การส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่

เดิมทีวันที่จัดสงกรานต์นั้น มีการคำนวณทางดาราศาสตร์ แต่ในปัจจุบันได้กำหนดวันที่แน่นอน คือ ตั้งแต่ 13 – 15 เมษายน หรือมีชื่อเรียกว่า วันมหาสงกรานต์ วันเนา และวันเถลิงศก

แต่เดิม วันขึ้นปีใหม่ไทย คือ วันเริ่มปีปฏิทินของไทยจนถึง พ.ศ. 2432 จึงเปลี่ยนแปลงมาเป็นวันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ สาเหตุก็เพราะสอดคล้องกับธรรมเนียมโบราณ หากนับทางจันทรคติ จะตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำเดือน 5 ซึ่งก็คือวันสงกรานต์ หรือวันที่ดวงอาทิตย์ย้ายจากราศีมีนไปสู่ราศีเมษนั่นเอง แม้ว่าในปีต่อไปจะไม่ตรงกับวันสงกรานต์ (หมายถึงวันที่ดวงอาทิตย์ย้ายจากราศีมีน ไปสู่ราศีเมษ)

จนถึง พ.ศ. 2483 จอมพล ป.พิบูลสงคราม ประกาศให้วันที่ 1 มกราคมเป็นวันขึ้นปีใหม่ตามแบบสากลนิยมแทนวันที่ 1 เมษายน โดยเริ่มใช้ตั้งแต่ปี 2484 เป็นต้นมา

อ่านบทความเพิ่มเติม:บัตรสวัสดิการแห่งรัฐล่าสุด 1000 บาทได้กันหรือยัง?!!

ตำนานประเพณีวันสงกรานต์

ตำนานเล่าว่า มีเศรษฐีฐานะร่ ารวยคนหนึ่ง ไม่มีบุตร จึงไปบวงสรวงขอบุตรกับพระอาทิตย์ และ พระจันทร์ แต่รอหลายปีก็ไม่มีบุตรสักที จนกระทั่งถึงฤดูร้อนปีหนึ่ง เศรษฐีได้น าข้าวสารซาวน้ า ๗ สี หุงบูชารุกขพระไทร พร้อมเครื่องถวาย และการประโคมดนตรี โดยได้ตั้งจิตอธิษฐานขอบุตร พระไทรได้ ฟังก็เห็นใจ จึงไปขอบุตรกับพระอินทร์ให้เศรษฐี ต่อมาเศรษฐีได้บุตรชาย และตั้งชื่อว่า “ธรรมบาลกุมาร” ธรรมบาลกุมารเป็นคนฉลาดหลักแหลม จนมีชื่อเสียงร่ าลือไปไกล ท าให้ท้าวกบิลพรหม ได้ลงมาท้าทาย ปัญญา โดยได้ถามปัญหากับธรรมบาลกุมาร ให้เวลา ๗ วัน หากฝ่ายใดแพ้จะต้องตัดศีรษะบูชา ท้ายที่สุด ธรรมบาลกุมารสามารถตอบปัญหาได้ ท้าวกบิลพรหมจึงต้องเป็นฝ่ายตัดศีรษะ แต่หากศีรษะนี้ตกลงพื้น – ๒ – โลก จะเกิดเพลิงไหม้โลก ท้าวกบิลพรหมจึงสั่งให้บาทบริจาริกาของพระอินทร์ทั้ง ๗ นาง สลับหน้าที่ หมุนเวียนท าหน้าที่อัญเชิญพระเศียร หรือศีรษะของตนแห่รอบเขาพระสุเมรุ ปีละ ๑ ครั้ง ซึ่งตรงกับช่วง มหาสงกรานต์ โดยนางสงกรานต์ทั้ง ๗ มีชื่อ ดังนี้ 

๑. นางทุงษะเทวี 

๒. นางรากษเทวี 

๓. นางโคราคเทวี 

๔. นางกิริณีเทวี 

๕. นางมณฑาเทวี 

๖. นางกิมิทาเทวี 

๗. นางมโหธรเทวี 

ความสำคัญ ของวันสงกรานต์

  • เป็นวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามประเพณีไทย และถือเป็นวันหยุดประกอบการงานหรือธุรกิจทั่วไป
  • เป็นวันทำบุญตักบาตรจัดจตุปัจจัยไทยธรรม ถวายพระบังสกุลกระดูกพรรพบุรุษ กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติผู้ล่วงลับ
  • เป็น วันแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อบรรพบุรุษ ในวันนี้จะมีการไปรดน้ำดำหัวขอพรจาก พ่อแม่ ผู้เฒ่าผู้แก่ที่เคารพนับถือ วันสงกรานต์ถือเป็น วันสูงอายุแห่งชาติ
  • เป็นวันรวมญาติมิตรที่จากไปอยู่แดนไกล เพื่อประกอบภาระ หน้าที่งานอาชีพของตน เมื่อถึงวันสงกรานต์ทุกคนจะกลับมาร่วมทำบุญสร้างกุศล จึงถือเอาวันที่ 15 เมษายน ซึ่งอยู่ในช่วงสงกรานต์เป็นวันรวมญาติหรือวันครอบครัว
  • เป็นวันอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย และส่งเสริมการละเล่นตามประเพณีไทย เช่น มีการทำบุญตักบาตร เล่นสาดน้ำ ชักเย่อ มอญซ่อนผ้า เล่นสะบ้า ฯลฯ
  • เป็นวันประกอบพิธีทางศาสนา เช่น มีการทำบุญตักบาตรจัดจตุปัจจัยไทยธรรมถวายพระ บังสุกุลกระดูกบรรพบุรุษ กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติผู้ล่วงลับ การสรงน้ำพระพุทธรูป สรงน้ำพระสงฆ์ ขนทรายเข้าวัด (ก่อพระเจดีย์ทราย ) รับศีล ปฏิบัติธรรมฯลฯ

อ่านบทความเพิ่มเติม:ส่อง IG คนดัง 2023 ไอจีที่มีคนติดตามมากที่สุดในไทย

วันสงกรานต์ ทํา อะไรบ้าง

image 2
  • การทำบุญตักบาตร
    ถือ ว่าเป็นการสร้างบุญสร้างกุศลให้ตัวเอง และ อุทิศส่วนกุศลนั้นแก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว การทำบุญแบบนี้มักจะเตรียมไว้ล่วงหน้า นำอาหารไปตักบาตรถวายพระภิกษุที่ศาลาวัด ซึ่งจัดเป็นที่รวมสำหรับทำบุญ ในวันนี้หลังจากที่ได้ทำบุญเสร็จแล้ว ก็จะมีการก่อพระทรายอันเป็นประเพณีด้วย
  • การรดน้ำ
    เป็นการ อวยพรปีใหม่ให้กันและกัน น้ำที่รดมักใช้น้ำหอมเจือด้วยน้ำธรรมดา
  • การสรงน้ำพระ
    จะรด น้ำพระพุทธรูปที่บ้านและที่วัด และบางที่จัด สรงน้ำพระสงฆ์ ด้วย
  • การรดน้ำผู้ใหญ่
    คือ การไปอวยพรให้ผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ ครูบาอาจารย์ ท่านผู้ใหญ่มักจะนั่งลงแล้วผู้ที่รดก็จะเอาน้ำหอมเจือกับน้ำรดที่มือท่าน ท่านจะให้ศีลให้พรผู้ที่ไปรด ถ้าเป็นพระก็จะนำผ้าสบงไปถวายให้ท่านผลัดเปลี่ยนด้วย หากเป็นฆราวาสก็จะหาผ้าถุง ผ้าขาวม้าไปให้
  • การดำหัว
    ก็คือการ รดน้ำนั่นเอง แต่เป็นคำเมืองทางภาคเหนือ การดำหัวเรียกกันเฉพาะการรดน้ำผู้ใหญ่ที่เราเคารพนับถือ ผู้สูงอายุ คือการขอขมาในสิ่งที่ได้ล่วงเกินไปแล้ว หรือ การขอพรปีใหม่จากผู้ใหญ่ ของที่ใช้ในการดำหัวส่วนมากมีผ้าขนหนู มะพร้าว กล้วย และ ส้มป่อย
  • การปล่อยนกปล่อยปลา
    ถือ เป็นการล้างบาปที่ทำไว้ เป็นการสะเดาะเคราะห์ร้ายให้มีแต่ความสุขความสบายในวันขึ้นปีใหม่
  • การนำทรายเข้าวัด
    ทาง ภาคเหนือนิยมขนทรายเข้าวัดเพื่อเป็นนิมิตโชคลาภ ให้มีความสุขความเจริญ เงินทองไหลมาเทมาดุจทรายที่ขนเข้าวัด

อ่านบทความเพิ่มเติม:สิ่งที่หลักฐานกล่าวเกี่ยวกับกัญชาในการรักษามะเร็ง

สรงน้ำพระ วันสงกรานต์

image 3

อุปกรณ์การสรงน้ำพระ

1. เตรียมโต๊ะสะอาดไว้วางองค์พระ เตรียมถาดไว้รอง หรือวางพระพุทธรูปในถาดเพื่อสะดวกเวลาสรงน้ำก็ได้

2. ผ้าสะอาดสำหรับเช็ดทำความสะอาดพระพุทธรูป

3. เตรียมขันใหญ่ และขันเล็ก ขันใหญ่สำหรับใส่น้ำสะอาด ขันเล็กสำหรับไว้ตักเพื่อสรงน้ำพระ

4. เครื่องหอม ของหอมต่างๆ เช่น ดอกมะลิ กลีบดอกกุหลาบ น้ำอบ น้ำปรุง เพื่อใส่ในขันใบใหญ่

5. พวงมาลัยหอมๆ ไว้ใช้ไหว้พระพุทธรูป (จากนั้นอาจจะลาจากท่านมาเพื่อใช้ไหว้พ่อแม่ ญาติผู้ใหญ่ก็ได้)

ขั้นตอนการสรงน้ำพระ

– ให้อัญเชิญพระพุทธรูปมาทำความสะอาดอย่างระมัดระวังด้วยผ้าสะอาด โดยสิ่งสำคัญคือ คุณจำเป็นจะต้องกล่าวขอขมากันเสียก่อน ด้วยการตั้ง นะโม 3 จบ แล้วตามด้วยบทสวดในการสรงน้ำพระ

บทสวดสรงน้ำพระ

(นะโม 3 จบ) 

ระตะนัตตะเย ปะมาเทนะ ทะวาระตะเยนะ กะตัง สัพพัง อะปะราธัง ขะมะตุ โน ภันเต

ซึ่งมีคำแปลว่า กายกรรม 3 วจีกรรม 4 มโนกรรม 3 ที่ข้าพเจ้าได้ประมาทพลาดพลั้งในพระรัตนตรัย ด้วยความตั้งใจก็ดี ไม่ตั้งใจก็ดี ต่อหน้าก็ดี ลับหลังก็ดี ขอพระรัตนตรัยได้โปรดยกโทษให้ข้าพเจ้าด้วยเถิด

– เมื่อทำความสะอาดพระพุทธรูปเรียบร้อยดีแล้ว ให้นำไปวางบนโต๊ะที่มีถาดรองที่เตรียมไว้ พร้อมปรุงเครื่องหอมบนพระพุทธรูป และในขันน้ำใบใหญ่สำหรับการสรงน้ำพระ

– เมื่อคนในครอบครัวอยู่พร้อมหน้ากัน ให้ตั้งนะโม 3 จบ แล้วท่องว่า 

อิมินา สิญฺจะเนเนวะ โรโค โสโก อุปัททะโว นิพพันตุ สัพพะโส เอเต สุขี โหนตุ นิรันตะรัง ซึ่งแปลว่า เดชะ ข้าสรงน้ำ พระชุ่มฉ่ำตลอดกาล ทุกข์โศกโรคภัยพาล อันตรธาน เป็นสุข เทอญ” ก่อนจะอธิษฐานขอพรต่างๆ

อ่านบทความเพิ่มเติม: วิธีแก้ปัญหา การดื่มน้ำน้อย 2566

คำถามที่พบบ่อยสงกรานต์ | FAQ

Q: วันหยุดสงกรานต์ 2566 วันไหนบ้าง

A: วันหยุดสงกรานต์ 2566 คือวันที่ 13-17 เมษายน

ads img

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *